วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

หน่วยที่ 2 กระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

v    เพื่อให้มีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับกระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

จุดประสงค์
1.บอกการเกิดภาพบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ 
2.อธิบายหน้าที่ของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับงานกราฟิกได้ 
3.อธิบายหลักการใช้สีและแสงในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
4.เลือกใช้สีได้เหมาะสมกับงานได้
5.จำแนกข้อแตกต่างของการประยุกต์ใช้โปรแกรมกราฟิกแต่ละด้านได้ 
6.สร้างงานและเลือกใช้สีได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็ว
7.มีระเบียบวินัยในการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา

เนื้อหาสาระ
1.ความหมายของกราฟิกและคอมพิวเตอร์กราฟิก
2.การเกิดภาพบนเครื่องคอมพิวเตอร์
3.การประมวลผลภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก
4.อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานกราฟิก
5.หลักการใช้สีและแสงในเครื่องคอมพิวเตอร์
6.คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ

ความหมายของกราฟิกและคอมพิวเตอร์กราฟิก
กราฟิก  หมายถึง   การสื่อความหมายด้วยการใช้ศิลปะและศาสตร์ทางการใช้เส้น  ภาพวาด ภาพเขียน  แผนภาพ  ตลอดจนสัญลักษณ์  ทั้งสีและขาว - ดำ  ซึ่งมีลักษณะเห็นได้ชัดเจน  เข้าใจความหมายได้ทันที ตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ

การเกิดภาพบนเครื่องคอมพิวเตอร์

พิกเซล (Pixel) = Picture + Element (จุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่รวมกันทำให้เกิดเป็นภาพขึ้น)

การประมวลผลภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก
1. การประมวลผลแบบ Raster หรือ Bitmap
2.  การประมวลผลแบบ Vector

Bitmap
Vector
1.ลักษณะภาพประกอบขึ้นด้วยจุดต่างๆ
2.ภาพมีจำนวน pixels คงที่จึงต้องการค่า     ความละเอียดมากขึ้นเมื่อขยายภาพ โดยจะคำนวณค่าสี ทีละ pixels ทำให้ภาพแตกเมื่อขยายภาพให้ใหญ่
3.เหมาะสำหรับงานกราฟิก ในแบบต้องการให้    แสงเงาในรายละเอียด
4.แสดงภาพบนจอทันที เมื่อรับคำสั่งย้ายข้อมูลจากหน่วยความจำที่เก็บภาพไปยังหน่วยความจำของจอภาพ

1. ใช้สมการทางคณิตศาสตร์เป็นตัวสร้างภาพ       โดยรวมเอา Object (เช่น วงกลม เส้นตรง) ต่างชนิดมาผสมกัน
2. สามารถย่อและขยายขนาดได้มากกว่า โดยสัดส่วนและลักษณะของภาพยังเหมือนเดิม ความละเอียดของภาพไม่เปลี่ยนแปลง
3. เหมาะสำหรับงานแบบวาง Layout งานพิมพ์ตัวอักษร Line Art หรือ Illustration
4.  คอมพิวเตอร์จะใช้เวลาในการแสดงภาพมากกว่า เนื่องจากต้องทำตามคำสั่งที่มีจำนวนมากกว่า


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานกราฟิก
    เครื่อง Scanner   
    กล้องถ่ายภาพระบบดิจิตอล          
    เครื่องพิมพ์       
   กระดานกราฟิก + ปากกา     
    เครื่อง PC 
    ปากกาแสง      
    จอสัมผัส       
    พล็อตเตอร์                                                                                                             
หลักการใช้สีและแสงในเครื่องคอมพิวเตอร์

    ระบบสีของคอมพิวเตอร์
o   ระบบสีของคอมพิวเตอร์ จะเกี่ยวข้องกับการแสดงผลแสงที่แสดงบนจอคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะการแสดงผล คือ ถ้าไม่มีแสดงผลสีใดเลย บนจอภาพจะแสดงเป็น "สีดำ" หากสีทุกสีแสดงผลพร้อมกัน จะเห็นสีบนจอภาพเป็น "สีขาว" ส่วนสีอื่นๆ เกิดจากการแสดงสีหลายๆ สี แต่มีค่าแตกต่างกัน การแสดงผลลักษณะนี้ เรียกว่า การแสดงสีระบบ Addivtive
o   สีในระบบ Additive ประกอบด้วยสีหลัก 3 สี (เช่นเดียวกับแม่สี) คือ สีแดง (Red) สีเขียว (Green) และ สีน้ำเงิน (Blue) เรียกรวมกันว่า RGB ซึ่งมีรูปแบบการผสมสีของ RGB


       •    ระบบสีระบบ
Additive
     


       •    ระบบสีที่ใช้กับงานพิมพ์

โหมด CMYK (Cyan, Magenta, Yellow, black)  ประกอบด้วยสี 4 สี คือ สีเขียวปนน้ำเงิน, สีม่วงแดงเข้ม, สีเหลือง และสีดำ เกิดจากการผสมกันของแม่สีของแสงหรือระบบสีRGB คือ
         แสงสีน้ำเงิน + แสงสีเขียว = สีฟ้า (Cyan)
         แสงสีน้ำเงิน + แสงสีแดง = สีแดง(
Magenta)
         แสงสีแดง + แสงสีเขียว = สีเหลือง (Yellow) 
สีฟ้า (Cyan) สีแดง (Magenta) สีเหลือง (Yellow) นี้นำมาใช้ในระบบการพิมพ์ และ มีการเพิ่มเติม สีดำเข้าไป เพื่อให้มีน้ำหนักเข้มขึ้นอีก เมื่อรวมสีดำ ( Black = K ) เข้าไป จึงมี 4 สี โดยทั่วไปจึงเรียกระบบการพิมพ์นี้ว่าระบบการพิมพ์ 4 สี(CMYK) 
ระบบการพิมพ์ 4 สี ( CMYK ) เป็นการพิมพ์ภาพในระบบที่ทันสมัยที่สุด และได้ภาพ ใกล้เคียงกับภาพถ่ายมากที่สุด โดยทำการพิมพ์ทีละสี จากสีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน และสีดำ ถ้าลองใช้แว่นขยายส่องดู ผลงานพิมพ์ชนิดนี้ จะพบว่า จะเกิดจากจุดสีเล็ก ๆ 4 สีอยู่เต็มไปหมด การที่เรามองเห็นภาพมีสีต่าง ๆ นอกเหนือจาก 4 สีนี้ เกิดจากการผสมของเม็ดสีเหล่านี้ใน ปริมาณต่าง ๆ คิดเป็น % ของปริมาณเม็ดสี ซึ่งกำหนดเป็น
10-20-30-40-50-60-70-80-90 จนถึง100 %

   วรรณะของสี (Tone of Color)
o   สีร้อน
o   สีอุ่น
o   สีเย็น


คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ

     • คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการออกแบบ

 

     • กราฟและแผนภาพ   


                          
     • ภาพศิลป์โดยคอมพิวเตอร์กราฟิก

         

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น