วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554


การอบรมเชิงปฏิบัติการ Adobe Illustrator CS3

โปรแกรม Illustrator
          Illustrator คือโปรแกรมที่ใช้ในการวาดภาพที่มีลักษณะเป็นลายเส้นหรือเวกเตอร์ และยังสามารถรวมภาพกราฟิกที่แตกต่างกันระหว่างเวกเตอร์และบิตแม็พ ให้เป็นงานกราฟิกที่มีทั้งภาพเป็นเส้นที่คมชัดและ มีเอฟเฟกต์สีสัน สวยงามหรือมีความแปลกใหม่ร่วมกันได้

Adobe Illustrator CS3

 Adobe Illustrator เป็นโปรแกรมวาดภาพกราฟิกแบบเวกเตอร์ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ รุ่นแรก จัดทำขึ้นในปี ค.ศ. 1986 เพื่อใช้งานกับเครื่องแมคอินทอช และได้พัฒนารุ่นที่ 2 ออกมาให้ใช้งานได้กับวินโดวส์ ซึ่งได้รับความพึงพอใจ และ การตอบรับที่ดีจากผู้ใช้เป็นจำนวนมาก จนปัจจุบันได้พัฒนาออกมาจนถึงรุ่นที่ 14 และได้รวบรวมเข้าไปเป็น 1 ในโปรแกรมชุด Adobe Creative (CS4)


การนำไปใช้งานโปรแกรม Illustrator

- งานสิ่งพิมพ์

            ไม่ว่าจะเป็นงานโฆษณา โบร์ชัวร์ นามบัตร หนังสือ หรือนิตยสาร เรียกได้ว่าเกือบทุกสิ่งพิมพ์ที่ต้องการความคมชัด

- งานออกแบบทางกราฟิก
            การสร้างภาพสามมิติ การออกแบบปกหนังสือ การออกแบบสกรีน CD-ROM และการออกแบบการ์ด อวยพร ฯลฯ

- งานทางด้านการ์ตูน
            ในการสร้างภาพการ์ตูนต่างๆนั้น โปรแกรม Illustrator ได้เข้ามามีบทบาทและช่วยในการวาดรูปได้ดี

- งานเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต
            ใช้สร้างภาพตกแต่งเว็บไซต์ไม่ว่าจะเป็น Background หรือปุ่มตอบโต้ แถบหัวเรื่องตลอดจนภาพประกอบต่างๆ ที่ปรากฏบนหน้าเว็บ


วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554


 Introduction Adobe Photoshop
วิชาการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

สาระการเรียนรู้
ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาใช้   ทำให้สื่อต่างๆ ได้มีการ
ไปมาก โดยมีโปรแกรมต่าง ๆ มาช่วยโปรแกรม Adobe Photoshop CS เป็นโปรแกรม
ที่ช่วยในการสร้างและตกแต่งภาพกราฟิก


วิธีการใช้งานโปรแกรมเบื้องต้น
1.คลิกที่ปุ่ม Start > Program > Adobe Photoshop CS เพื่อเข้าสู่โปรแกรม
2.จะเข้าสู่โปรแกรม Adobe Photoshop เพื่อใช้งานต่อไป


ส่วนประกอบต่าง ๆ ของโปรแกรม

1. กล่องเครื่องมือ(Tools) ใน Photoshop CS
Tools เป็นเครื่องมือที่ใช้ใน Photoshop สามารถกำหนด ป้อนและแสดงด้วยคำสั่ง windows > show/hide Tools ปุ่มบน Tools บางอัน มีรูปภาพสามเหลี่ยมอันเล็กๆอยู่ด้านล่างขวา เมื่อเรากดเมาส์ค้างบนปุ้มนั้นจะมีเครื่องมือที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกันออกมา สำหรับเครื่องมือต่างๆ มีการใช้ดังนี้
o  กลุ่มเครื่องมือ Marquee 

                      
  
o  กลุ่มเครื่องมือ Lasso

                      

o  กลุ่มเครื่องมือ Healing Brush

 

o  กลุ่มเครื่องมือ Eraser

 

o  กลุ่มเครื่องมือ Blur

    

o  กลุ่มเครื่องมือ Path Selection

 

2. Menu Bar   แถบรวบรวมคำสั่งหลักทุกคำสั่งในการใช้โปรแกรม Tool

File
มีไว้สำหรับเปิด-ปิด และ บันทึก (Save) ไฟล์ รวมถึงการ Import, Export การสั่ง การพิมพ์ เป็นต้น
Edit
เป็นคำสั่งสำหรับการปรับแต่ง แก้ไข ดัดแปลง ตัดต่อ รวมถึงการปรับตั้งค่าต่างๆ (Preferences)
Image
คำสั่งนี้ใช้สำหรับปรับค่าต่างๆของภาพทั้งภาพ
Layer
เป็นคำสั่งในการสร้างเลเยอร์ การปรับแต่งแต่ละ เลเยอร์ รวมถึงการรวมเลเยอร์เข้าด้วยกัน
Select
เป็นคำสั่งหรือจัดการกับพื้นที่ที่ต้องการทำงาน ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ร่วมกับเครื่องมือใน Tool box
Filter
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนโดยอัตโนมัติ มีฟิลเตอร์หลากหลายชนิดให้เลือกใช้
Analysis
เป็นการกำหนดค่าของเครื่องมือที่ใช้ในการวัดขนาด
3D
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการสร้างภาพให้เป็นสามมิติ
View
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนมุมมอง การย่อหรือขยายขนาดของพื้นที่งาน รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและเส้น Grid ด้วย
Window
คำสั่งนี้มีไว้เพื่อจัดการเกี่ยวกับพื้นที่บนหน้าจอ และการสั่งการแสดงหรือซ่อน หน้าต่าง Palette และกำหนดค่า Tool preset
Help
เป็นคำสั่งช่วยเหลือเกี่ยวกับการใช้งานต่างๆ


3. Option Bar  แถบตัวเลือกของเครื่องมือซึ่งจะปรากฏขึ้นเมื่อเลือกใช้เครื่องมือ ซึ่งจะปรากฏเมื่อเลือกใช้เครื่องมือ Toolbox สะดวกตามการใช้งาน   
     
4. Toolbox   กล่องเก็บอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำงาน เช่น เครื่องมือเกี่ยวกับการเลือกและแก้ไข

5. Status Bar ใช้แสดงข้อความที่เป็นประโยชน์ในขณะทำงาน  เช่น  Save File


การกำหนดขนาดงานใหม่ (NEW)
1. คลิกเมนู File > New   เพื่อกำหนดขนาดงานใหม่
2. ตั้งชื่อไฟล์ในช่อง Name
3. กำหนด หน่วยของขนาดงาน
           Pixels    =   พิกเซล
            Cm        =   เซนติเมตร
            Inches   =   นิ้ว
4. กำหนดค่าความกว้างความสูงของงาน
            Width     =   ความกว้าง
            Height    =   ความสูง
5. กำหนดค่าความละเอียดในการประมวลผลงาน
6. กำหนดโหมดสีในการแสดงผล
7. เลือกการแสดงพื้นหลังของงาน
            white      =   กำหนดให้พื้นเป็นสีขาว
            Background  Color   =   กำหนดให้พื้นเป็นสีเดียวกับสี Background
            Transparent     =  กำหนดให้พื้นมีลักษณะโปร่งแสดง




 การเปิด –ปิดไฟล์ใหม่
1. คลิกเมนู File>Open หรือใช้คีย์ลัดโดยกดปุ่ม บนคีย์บอร์ด


2.หน้าต่าง Open จะปรากฏขึ้น  จากนั้นคลิกเลือกโฟลเดอร์ ที่ต้องการ
3.คลิกเลือกไฟล์ที่ต้องการ จะสังเกตได้ว่ามีภาพเล็กแสดงอยู่ด้านหลัง
4.คลิกที่ปุ่ม  OPEN

 
 5.รอสักครู่ภาพก็จะถูกเปิดขึ้นตามที่ต้องการ



วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554


หน่วยที่ 3 หลักการออกแบบสิ่งพิมพ์แบบ Desktop Publishing

v  เพื่อให้มีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการออกแบบสิ่งพิมพ์แบบ Desktop Publishing

จุดประสงค์
1. บอกหลักการออกแบบกราฟิกในคอมพิวเตอร์ได้
2. บอกประเภทของไฟล์ที่มีการจัดเก็บแบบบิตแมปและเวกเตอร์ได้
3. อธิบายองค์ประกอบและหลักในการออกแบบได้
4. อธิบายไฟล์ที่มีการจัดเก็บแบบบิตแมปและเวกเตอร์ได้
5.  สามารถจัดเก็บไฟล์แบบบิตแมปและเวกเตอร์ได้
6. จำแนกข้อแตกต่างของไฟล์ที่มีการจัดเก็บแบบบิตแมปและเวกเตอร์ได้
7.  วิเคราะห์องค์ประกอบในการออกแบบได้
8. สร้างชิ้นงานแบบบิตแมปและเวกเตอร์ได้
9. สร้างงานและจัดเก็บไฟล์แบบบิตแมปและเวกเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
10.ออกแบบและสร้างภาพกราฟิกในคอมพิวเตอร์ได้
11. มีระเบียบวินัยในการเข้าเรียนให้ตรงเวลา

เนื้อหาสาระ
1.  การสร้างภาพในงานกราฟิก
2.  องค์ประกอบในการออกแบบ
3.  หลักการออกแบบ
4.  ตัวอักษรและตัวพิมพ์
5.  ไฟล์ที่มีการจัดเก็บแบบบิตแมปหรือ Rester

การสร้างภาพในงานกราฟิก
·         การจัดแสง


องค์ประกอบในการออกแบบ

-  เส้น (Line)   
-  รูปร่าง (Shape)
-  รูปทรง (Form)
-  ขนาด (Size)
-  ทิศทาง (Direction)
-  พื้นที่ว่าง (Space)
-  ลักษณะพื้นผิว (Texture)    
-  ค่าน้ำหนักของสี (Value)
-  สี (Color)
-  วรรณะของสี (Tone of Color)
                         
หลักการออกแบบ
-  จังหวะ (Rhythm)                                         -  การแปรเปลี่ยน (Gradation)
-  ความกลมกลืน (Harmony)                          -  การตัดกัน (Contrast)
-  สัดส่วน (Proportion)                                   -  ความสมดุล (Balance)
-  การเน้น (Emphasis)                                   -  เอกภาพ (Unity)
                         
ตัวอักษรและตัวพิมพ์

                        

หน่วยที่ 2 กระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

v    เพื่อให้มีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับกระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

จุดประสงค์
1.บอกการเกิดภาพบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ 
2.อธิบายหน้าที่ของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับงานกราฟิกได้ 
3.อธิบายหลักการใช้สีและแสงในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
4.เลือกใช้สีได้เหมาะสมกับงานได้
5.จำแนกข้อแตกต่างของการประยุกต์ใช้โปรแกรมกราฟิกแต่ละด้านได้ 
6.สร้างงานและเลือกใช้สีได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็ว
7.มีระเบียบวินัยในการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา

เนื้อหาสาระ
1.ความหมายของกราฟิกและคอมพิวเตอร์กราฟิก
2.การเกิดภาพบนเครื่องคอมพิวเตอร์
3.การประมวลผลภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก
4.อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานกราฟิก
5.หลักการใช้สีและแสงในเครื่องคอมพิวเตอร์
6.คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ

ความหมายของกราฟิกและคอมพิวเตอร์กราฟิก
กราฟิก  หมายถึง   การสื่อความหมายด้วยการใช้ศิลปะและศาสตร์ทางการใช้เส้น  ภาพวาด ภาพเขียน  แผนภาพ  ตลอดจนสัญลักษณ์  ทั้งสีและขาว - ดำ  ซึ่งมีลักษณะเห็นได้ชัดเจน  เข้าใจความหมายได้ทันที ตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ

การเกิดภาพบนเครื่องคอมพิวเตอร์

พิกเซล (Pixel) = Picture + Element (จุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่รวมกันทำให้เกิดเป็นภาพขึ้น)

การประมวลผลภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก
1. การประมวลผลแบบ Raster หรือ Bitmap
2.  การประมวลผลแบบ Vector

Bitmap
Vector
1.ลักษณะภาพประกอบขึ้นด้วยจุดต่างๆ
2.ภาพมีจำนวน pixels คงที่จึงต้องการค่า     ความละเอียดมากขึ้นเมื่อขยายภาพ โดยจะคำนวณค่าสี ทีละ pixels ทำให้ภาพแตกเมื่อขยายภาพให้ใหญ่
3.เหมาะสำหรับงานกราฟิก ในแบบต้องการให้    แสงเงาในรายละเอียด
4.แสดงภาพบนจอทันที เมื่อรับคำสั่งย้ายข้อมูลจากหน่วยความจำที่เก็บภาพไปยังหน่วยความจำของจอภาพ

1. ใช้สมการทางคณิตศาสตร์เป็นตัวสร้างภาพ       โดยรวมเอา Object (เช่น วงกลม เส้นตรง) ต่างชนิดมาผสมกัน
2. สามารถย่อและขยายขนาดได้มากกว่า โดยสัดส่วนและลักษณะของภาพยังเหมือนเดิม ความละเอียดของภาพไม่เปลี่ยนแปลง
3. เหมาะสำหรับงานแบบวาง Layout งานพิมพ์ตัวอักษร Line Art หรือ Illustration
4.  คอมพิวเตอร์จะใช้เวลาในการแสดงภาพมากกว่า เนื่องจากต้องทำตามคำสั่งที่มีจำนวนมากกว่า


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานกราฟิก
    เครื่อง Scanner   
    กล้องถ่ายภาพระบบดิจิตอล          
    เครื่องพิมพ์       
   กระดานกราฟิก + ปากกา     
    เครื่อง PC 
    ปากกาแสง      
    จอสัมผัส       
    พล็อตเตอร์                                                                                                             
หลักการใช้สีและแสงในเครื่องคอมพิวเตอร์

    ระบบสีของคอมพิวเตอร์
o   ระบบสีของคอมพิวเตอร์ จะเกี่ยวข้องกับการแสดงผลแสงที่แสดงบนจอคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะการแสดงผล คือ ถ้าไม่มีแสดงผลสีใดเลย บนจอภาพจะแสดงเป็น "สีดำ" หากสีทุกสีแสดงผลพร้อมกัน จะเห็นสีบนจอภาพเป็น "สีขาว" ส่วนสีอื่นๆ เกิดจากการแสดงสีหลายๆ สี แต่มีค่าแตกต่างกัน การแสดงผลลักษณะนี้ เรียกว่า การแสดงสีระบบ Addivtive
o   สีในระบบ Additive ประกอบด้วยสีหลัก 3 สี (เช่นเดียวกับแม่สี) คือ สีแดง (Red) สีเขียว (Green) และ สีน้ำเงิน (Blue) เรียกรวมกันว่า RGB ซึ่งมีรูปแบบการผสมสีของ RGB


       •    ระบบสีระบบ
Additive
     


       •    ระบบสีที่ใช้กับงานพิมพ์

โหมด CMYK (Cyan, Magenta, Yellow, black)  ประกอบด้วยสี 4 สี คือ สีเขียวปนน้ำเงิน, สีม่วงแดงเข้ม, สีเหลือง และสีดำ เกิดจากการผสมกันของแม่สีของแสงหรือระบบสีRGB คือ
         แสงสีน้ำเงิน + แสงสีเขียว = สีฟ้า (Cyan)
         แสงสีน้ำเงิน + แสงสีแดง = สีแดง(
Magenta)
         แสงสีแดง + แสงสีเขียว = สีเหลือง (Yellow) 
สีฟ้า (Cyan) สีแดง (Magenta) สีเหลือง (Yellow) นี้นำมาใช้ในระบบการพิมพ์ และ มีการเพิ่มเติม สีดำเข้าไป เพื่อให้มีน้ำหนักเข้มขึ้นอีก เมื่อรวมสีดำ ( Black = K ) เข้าไป จึงมี 4 สี โดยทั่วไปจึงเรียกระบบการพิมพ์นี้ว่าระบบการพิมพ์ 4 สี(CMYK) 
ระบบการพิมพ์ 4 สี ( CMYK ) เป็นการพิมพ์ภาพในระบบที่ทันสมัยที่สุด และได้ภาพ ใกล้เคียงกับภาพถ่ายมากที่สุด โดยทำการพิมพ์ทีละสี จากสีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน และสีดำ ถ้าลองใช้แว่นขยายส่องดู ผลงานพิมพ์ชนิดนี้ จะพบว่า จะเกิดจากจุดสีเล็ก ๆ 4 สีอยู่เต็มไปหมด การที่เรามองเห็นภาพมีสีต่าง ๆ นอกเหนือจาก 4 สีนี้ เกิดจากการผสมของเม็ดสีเหล่านี้ใน ปริมาณต่าง ๆ คิดเป็น % ของปริมาณเม็ดสี ซึ่งกำหนดเป็น
10-20-30-40-50-60-70-80-90 จนถึง100 %

   วรรณะของสี (Tone of Color)
o   สีร้อน
o   สีอุ่น
o   สีเย็น


คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ

     • คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการออกแบบ

 

     • กราฟและแผนภาพ   


                          
     • ภาพศิลป์โดยคอมพิวเตอร์กราฟิก